ต่อมาในปีคริสตศักราชที่ 1725 เพชรได้ปรากฎตัวขึ้นในป่าดงดิบของประเทศบราซิล และเริ่มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นตามลำดับในหมู่คนทั่วไป
จนกระทั่งปีคริสตศักราชที่ 1866 แห่งเพชรยุคใหม่ก็ได้เริ่มขึ้นเมื่อมีการพบเพชรน้ำหนักถึง 21 กะรัตในประเทศแอฟริกาใต้
ถัดมาอีกสามปีก็เกิดความตื่นตัวในการค้นหาเพชรกันขนานใหญ่ในทวีปแอฟริกา เมื่อมีการพบผลึกเพชรสีขาวอมน้ำเงินหนักมากถึง 83.50 กะรัต ที่ใกล้ๆ แม้น้ำออเรนจ์ (Orange River) โดยเด็กเลี้ยงสัตว์คนหนึ่งซึ่งต่อมาเพชรเม็ดนี้ได้รับสมญานามว่า “Star of Africa” (ดวงดาราแห่งแอฟริกา)
ในปัจจุบันได้มีการพบเพชแหล่งใหม่ๆ ในทวีปแอฟริกาไม่ว่าจะเป็น แทนซาเนีย, บอตสวานา, ซาอีร์ อีกทั้งยังมีการพบเพชรในประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศรัสเซียอีกด้วย
ถึง แม้ปัจจุบันแหล่งเพชรดิบจะหมดไปจากอินเดียแล้วก็ตาม แต่อินเดียก็ยังเป็นแหล่งเจียระไนเพชรขนาดเล็ก (ขนาดต่ำกว่า 3 มิลลิเมตร) ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมเพชร ด้วยเหตุที่อินเดียมีค่าแรงถูกและชาวอินเดียมีทักษะในการเจียระไนสืบทอดกัน มานับพันปี
แต่สำหรับผลึกเพชรที่มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีก็มักจะส่งไปเจียระไนที่สหรัฐอเมริกา, เบลเยียม, และอิสราเอล ซึ่งเป็นแหล่งชุมนุมของช่างเจียระไนเพชรฝีมือดี
ประเทศไทยถือเป็นตลาดผู้บริโภคเพชรคุณภาพสูง รัฐบาลให้ส่งเสริมการเจียระไนเพชรในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นหลัก แต่ก็มีปริมาณไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับการเจียระไนพลอยสี (Colored Stone) ฝีมือการเจียรเพชรของช่างชาวไทยจัดอยู่ในระดับปานกลางของอุตสาหกรรมการเจียระไนเพชร
เดิมชาวอินเดียคิดว่าเพชรเจริญเติบโตในพื้นดินเช่นเดียวกับเมล็ดพืช จึงได้ทำการชั่งน้ำหนักเพชรโดยเปรียบเทียบกับเมล็ดของต้นคารอบ (Carob Tree) ซึ่งเมล็ดคารอบจะมีน้ำหนักที่แทบจะเท่ากันทุกเม็ด โดยมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 205 มิลลิกรัม